หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Anti-Aging and Regenerative Science

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
ชื่อย่อ : วท.ม. (วิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Anti-Aging and Regenerative Science)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Anti-Aging and Regenerative Science)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูปัญหาสุขภาพ โดยการบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์หลายแขนงร่วมกันเพื่อรับมือกับภัยคุกคามด้านสุขภาพอันเกิดมาจากความเสื่อมของร่างกาย ความชรา และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ทั้งส่วนบุคคลและสาธารณชน เป็นหลักสูตรที่ออกแบบการเรียนการสอน และการสร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียนด้วยแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ (Cognitive constructivism) และสร้างความรู้ผ่านปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม (Social constructivism) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบภายนอกเชื่อมโยงกับความรู้เดิม แล้วสร้างเป็นความเข้าใจของตนเองหรือโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure) การเรียนการสอนเน้นใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning) เพื่อให้ผู้เรียนได้เผชิญกับสถาณการณ์จริง แก้ไขปัญหาด้วยตนเองผ่านการสนับสนุนของผู้สอนและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะ มีศักยภาพในการวิจัย สามารถถ่ายทอดความรู้ และสร้างนวตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพได้

ดังนั้นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จึงมุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ในการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นนักวิชาการ นักวิจัย และเป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้อื่นในด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพได้ (Identity)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความสามารถ ในการวิจัย สร้างสรรค์นวัตกรรม และสามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำผู้อื่นได้ มีทักษะความเป็นผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขโดยใช้ชีวสถิติ เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมทางด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และสามารถสื่อสารทางวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติได้

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
  2. นักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
  3. ผู้ให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-aging Health Practitioner)
  4. ผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
  5. อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ มีวินัย ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัย 
  • PLO2 อภิปรายเชื่อมโยงแนวคิดและหลักการด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ งานวิจัย และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม
  • PLO3 สร้างสรรค์ ออกแบบโปรแกรมทางด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพโดยบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพเข้ากับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม
  • PLO4 แสดงทักษะความเป็นผู้นำในการสื่อสารความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
  • PLO5 วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขโดยใช้ชีวสถิติ เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมทางด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และสามารถนำเสนอผลงานเชิงวิชาการในการประชุมวิชาการหรืองานนิทรรศการวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ 
  • PLO6 สร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้โปรแกรมทางด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา

 

ค่าธรรมเนียม

จำนวน  4  ภาคการศึกษาในหลักสูตร

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   240,000   บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  60,000  บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    2. รายวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต     
       
แผน ก2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 9 ส.ค. 65